ผักผลไม้ 5 สี ประโยชน์ สารอาหาร ที่หลากหลาย

ผักผลไม้ 5 สี ประโยชน์ สารอาหาร ที่หลากหลาย


เคยสงสัยการบ้างไหม ว่าทำไมเหล่านัก โภชนการ ต่างออกมาพูดเป็นสีเดียวกันว่า หากอยากมี สุขภาพ ที่ดีก็ควรทาน ผักผลไม้ ให้ ครบ 5 สี มีดีอย่างไรนั้น มาดูกัน

ผักผลไม้ 5 สี ประโยชน์ สารอาหาร ที่หลากหลาย

ผัก 5 สี มีอะไรซ่อนอยู่ เคยสังเกตกันมั้ย ทำไม "ผัก" แต่ละชนิดถึงมี "สี" ที่แตกต่าง กันไป ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ผัก ก็น่าจะมีแต่ "สีเขียว" เพียงสีเดียว แต่ ผัก ที่เราเห็น วางอยู่ ในซุปเปอร์มาร์เก็ต กลับมีสีสัน ที่หลากหลาย สวยงาม และดูน่า รับประทาน มากกว่า ผักใบเขียว เสียอีก จริง ๆ แล้ว ทุกคนรู้หรือไม่ ว่า ผัก หลากสีสัน เหล่านั้น แหละ ที่มีคุณค่าทาง โภชนาการ อยู่ มากมาย แต่ก็มี ประโยชน์ ต่อ ร่างกาย ที่แตกต่าง กันไป ตามแต่ละ "สี" วันนี้จะพาทุกคนไปรู้จัก "สารอาหาร" และ ประโยชน์ ใน "ผัก 5 สี" ว่าแต่ละสีมี ประโยชน์ อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการ ปรับสมดุล ความเป็น กรด - เบสใน ร่างกาย ที่ให้ สารต้านอนุมูลอิสระ และ สร้างภูมิคุ้มกัน ของ ร่างกาย ที่ดี อีกด้วย

 

1.   ผักผลไม้สีเขียว

สีเขียว ใน ผัก และ ผลไม้ ที่มาจาก เม็ดสี ของสาร ที่มีชื่อว่า คลอโรฟิลด์ ( Chlorophyll ) โดยจะมีตั้งแต่ เขียวเข้มจัด ได้แก่ ผักคะน้า สาหร่าย บางชนิด ตำลึง ผักใบเขียว ต่างๆ และ สีเขียว แบบทั่ว ๆ ไป อย่างเช่น แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง ผักกาด เป็นต้น

ซึ่งใน  ผักสีเขียวที่มี คลอโรฟิลด์ ( Chlorophyll ) นั้น เต็มไปด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยในการ ต่อต้านโรคมะเร็ง และทำให้ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส อีกทั้งยังช่วยยับยั้ง การเกิดริ้วรอย และนอกจากนี้ การ ทานผักใบเขียว เป็นประจำ จะช่วยให้ การขับถ่ายดี ลดอาการท้องผูก  เนื่องจาก ผัก เหล่านี้มี กากใยสูง ที่สูง ที่มีส่วนช่วยในการ ลดน้ำหนัก เนื่องจากให้ พลังงานต่ำ

 

2.   ผักผลไม้สีแดง

สาร สีแดง ใน ผัก และ ผลไม้ ที่มี สีแดง ก็คือ ไลโคปีน ( Cycopene ) และ เบตาไซซีน ( Betacycin ) ซึ่งเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนสำคัญ ที่ช่วย ในการ ป้องกันการเกิดมะเร็ง ตามอวัยวะต่าง ๆใน ร่างกาย แต่จะเด่นที่สุด ก็คือ ช่วยลดความเสี่ยง ในการเกิด โรคมะเร็งที่ต่อมลูกหมาก และรองลงมา ก็คือ มะเร็งปอด และ มะเร็งที่กระเพาะอาหาร

ซึ่งนอกจากนี้ ยังมี ประโยชน์ ในเรื่อง ผิวพรรณ ลดการเกิดสิว และทำให้ รอยแผลเป็นจางลง ได้อีกด้วย ผัก และ ผลไม้ ที่อยู่ในกลุ่ม สีแดง อาทิเช่น มะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่ บีทรูท เชอรี่ แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และ กระเจี้ยบแดง เป็นต้น

 

3.   ผักผลไม้สีเหลือง และ สีส้ม

ผัก และ ผลไม้ ที่มี สีเขียวอ่อน และ สีเหลือง จะมีสาร ที่ชื่อว่า ลูทีน ( Lutein ) อยู่มาก ซึ่งมี ประโยชน์ โดยตรงกับ ดวงตา และช่วยป้องกัน และ ชะลอความเสื่อมของจอประสาทตา ในผู้ใหญ่ และมีส่วนช่วย ในการพัฒนา การมองเห็น ในเด็กเล็ก ได้ดี อีกด้วย

 ผัก และ ผลไม้ ที่มี สีส้ม จะมีสาร เบต้าแคโรทีน ( Betacarotene ) ที่ช่วย ลดระดับคอเลสเตอรอล ไขมันในเส้นเลือด และช่วยให้ ผิวพรรณสดใส อีกทั้งยัง รักษาความชุ่มชื่น ให้ ผิว และช่วย ลดความเสื่อมของเซลล์ ใน ร่างกาย และ สร้างภูมิคุ้มกัน

ซึ่ง ผัก และ ผลไม้ ที่อยู่ในกลุ่ม สีเหลือง และ สีส้ม ได้แก่ ส้ม แครอท มะละกอ มะนาว สับปะรด ฟักทอง มันเทศ ขนุน เสาวรส และ ข้าวโพด เป็นต้น

 

4.   ผักผลไม้สีม่วง และ ม่วงอมน้ำเงิน

สีสันแปลกตาเหล่านี้ มาจากสาร แอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ซึ่งมีคุณสมบัติ ที่ช่วยทำลายสาร ที่ทำให้เกิดมะเร็ง ช่วยกระตุ้นการทำงาน ของเซลล์ต่าง ๆ ชะลอความเสื่อมถอย และลดอัตรา การเกิดโรคหัวใจ อีกทั้งช่วย ยับยั้งเชื้ออีโคไล ที่ทำให้เกิดอาการ อาหารเป็นพิษ ได้ นอกจากนี้ยังช่วย บำรุงเส้นผม ให้เงางาม อีกด้วย

สีม่วง มักจะพบได้ใน มะเขือสีม่วง ลูกแบล็คเบอรี่ บลูเบอรี่ ดอกอัญชัน กะหล่ำปลีสีม่วง มันเทศสีม่วง และ หอมแดง เป็นต้น

 

5.   ผักผลไม้สีขาว จนถึง สีน้ำตาลอ่อน

เป็น ผัก และ ผลไม้ ที่มี สารอาหาร ที่เรียกว่า แซนโทน ( Xanthone ) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ ที่ช่วย ลดอาการอักเสบ ช่วย รักษาระดับน้ำตาลในเลือด และนอกจากนี้ ยังมีสารอื่น ๆ ที่ประกอบด้วย กรดไซแนปติก  และ อัลลิซิน โดยสารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วย ลดไขมันในเลือด ช่วย ป้องกันโรคความดันโลหิต และ โรคหลอดเลือดหัวใจ ได้

ผัก และ ผลไม้ ที่มี สีขาว จนถึง สีน้ำตาลอ่อน ได้แก่ ขิง ข่า  กระเทียม  กุยช่าย  ขึ้นช่าย เซเลอรี่  ลูกเดือย หัวไชเท้า ถั่วเหลือง ดอกกะหล่ำ ถั่วงอก และ งาขาว ส่วน ผลไม้ ได้แก่ กล้วย สาลี่ พุทรา ลางสาด ลองกอง ลิ้นจี่  เป็นต้น

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

รวมอาหารรับประทานแล้วหาย เครียด

สมุนไพร รักษา โรคข้อเข่าเสื่อม


วิธีบำรุงผม เปลี่ยนผมเสียเป็นผมสวย

วิธี บำรุงผม เปลี่ยน ผมเสีย เป็น ผมสวย

ทำความรู้จักกับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1

ทำความรู้จักกับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1