หมอเตือน “ผู้สูงอายุ” กลืนอาหารลำบาก เสี่ยงสำลักติดคอได้

หมอเตือน “ผู้สูงอายุ” กลืนอาหารลำบาก เสี่ยงสำลักติดคอได้


หมอเตือน “ผู้สูงอายุ” ระวังการกลืนอาหาร เหตุร่างกายเสื่อมลง ทำกลืนลำบากยิ่งขึ้น แนะดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน แนะคนกลืนลำบากกินอาหารย่อยง่าย รสจืด

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีลุงวัย 66 ปีกินเป็ดย่างติดคอเสียชีวิตกลางห้างดัง ว่า ผู้สูงอายุต้องระวังเรื่องการรับประทานอาหาร เพราะว่าเมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อ ระบบอวัยวะต่างๆ ก็จะเสื่อมลง การทำงานอย่างการกลืนอาหาร หรือการกวาดอาหารภายในปากลงคอก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหน้าที่การทำงานของช่องปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร และกลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืน ส่งผลให้ความสามารถการกลืนในผู้สูงอายุลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะกลืนลำบากยิ่งขึ้น กลไกในการกลืนในผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

 

1. ระยะช่องปาก ผู้สูงอายุไม่มีฟันและกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวลดลง ทำให้ใช้เวลาในการบดเคี้ยวอาหารเพิ่มขึ้น กำลังและการประสานการทำงานของริมฝีปากและลิ้นลดลง ทำให้กระบวนการเตรียมอาหารและการส่งผ่านอาหารใช้เวลานานขึ้นและประสิทธิภาพลดลง ต้องมีการกลืนหลายครั้งกว่าอาหารจะหมดจากช่องปาก ผู้สูงอายุบางรายอาจมีอาหารเหลือค้างในปากเป็นแหล่งสะสมของเชื้อก่อโรคเสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก


2. ระยะคอหอย การกลืนที่คอหอยจะเกิดช้ากว่าวัยอื่น กล่องเสียงยกตัวขึ้นมารับกับฝาปิดกล่องเสียงช้า ความแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยลดลง หูรูดของหลอดอาหารส่วนต้นเปิดช้า ทำให้อาหารอยู่ในระยะคอหอยนาน ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดสำลักอาหารเข้าสู่ทางเดินหายใจได้จึงเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ และ 3. ระยะหลอดอาหาร ระยะเวลาที่หูรูดของหลอดอาหารส่วนต้นเปิดจะสั้นลง จึงมีอาหารเหลือค้างที่คอหอยเสี่ยงต่อการสำลักเข้าทางเดินหายใจ แรงบีบไล่อาหารของหลอดอาหารลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะไส้เลื่อนกระบังลมมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นกลไกการกลืนจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ระยะ และมีส่วนสัมพันธ์กับระบบประสาทสั่งการและการควบคุมการหายใจ

สิ่งสำคัญ คือ การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ต้องมีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ซึ่งจริงๆ ควรออกกำลังกายตั้งแต่อายุน้อยๆ อย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้เป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายที่ดีเมื่อเข้าสู่สูงวัย และสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน คือ การดูแลสุขภาพช่องปาก ฟัน เพราะเป็นเรื่องของการบดเคี้ยว การรับประทานอาหาร ต้องนิ่มๆ ไม่แข็งมาก ชิ้นไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะการบดเคี้ยวหากไม่ดี นอกจากจะสำลัก เสี่ยงติดคอ ยังส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อย เกิดกรดไหลย้อนได้ อย่างไรก็ตาม จริงๆ แล้ว สาเหตุของภาวะกลืนลำบากที่พบได้บ่อยของความผิดปกติของช่องปากและคอหอยในวัยสูงอายุคือ โรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม แต่อาจมีสาเหตุจากภาวะอื่นๆ ได้แก่ โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช รวมถึงโรคพาร์กินสันที่ทำให้กล้ามเนื้อมีภาวะเกร็ง ทำให้การกลืนอาหารยากขึ้น” นพ.ณรงค์ กล่าวและว่า วิธีแก้ปัญหาภาวะกลืนลำบาก ควรปรับอาหารผู้สูงอายุ หรือผู้ใกล้ชิดเลือกชนิดของอาหารที่ใช้ในการฝึกกลืนอย่างเหมาะสม ได้แก่ อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายและมีรสจืด โดยรับประทานปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง และเลือกใช้ช้อนที่มีขนาดเล็กลงและหลุมไม่ลึก ทำให้ปริมาณการรับประทานอาหารต่อคำลดลง รวมถึงปริมาณน้ำที่น้อยลงในแต่ละคำจะช่วยลดอาการสำลักได้


วิธีบำรุงผม เปลี่ยนผมเสียเป็นผมสวย

วิธี บำรุงผม เปลี่ยน ผมเสีย เป็น ผมสวย

ผงกล้วยน้ำว้าดิบ รักษากรดไหลย้อนได้จริงหรือไม่

ผงกล้วยน้ำว้าดิบ รักษา กรดไหลย้อน ได้จริงหรือไม่