แคปซูล มีกี่ประเภท แล้วทำไมถึงนิยม

แคปซูล มีกี่ประเภท แล้วทำไมถึงนิยม


ศุกร์สุดสัปดาห์แบบนี้ ขอนำสาระน่ารู้เกี่ยวกับ ‘แคปซูล’ มาเสนอ เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ในการใช้ยา เนื่องจากปัจจุบัน ยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ ผลิตออกมาในรูปแบบของแคปซูลกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น หลายคนอาจเคยสงสัยเวลาทานยาแคปซูลว่าที่ทานเข้าไปทำมาจากอะไร แล้วทำไมถึงไม่เป็นอันตราย วันนี้เรามีคำตอบมาให้หายสงสัยกันค่ะ

 

     แคปซูลประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนของตัวยา และ เปลือกหรือปลอกแคปซูล โดยเปลือกหรือปลอกแคปซูล ส่วนใหญ่ทำมาจากเจลาตินและน้ำ ซึ่งเจลาตินทำมาจากการแปรรูปคอลลาเจนที่เป็นองค์ประกอบที่อยู่ในผิวหนังและกระดูกสัตว์ เช่น วัว หมู โดยเปลือกแคปซูลสามารถละลายได้ที่อุณหภูมิของร่างกายของเรา

 

     หน้าที่ของปลอกแคปซูล คือ เป็นภาชนะบรรจุยา แล้วนำลงจากปากไปสู่ลำไล้เล็กเพื่อดูดซึมไปในกระแสเลือด โดยยาที่จำเป็นต้องบรรจุในแคปซูลนั้นเป็นเพราะต้องการกลบกลิ่นและรสที่ไม่ดีของยา และยังสามารถใช้ระบุเอกลักษณ์ของยา แยกชนิดโดยใช้สี ซึ่งยาเม็ดทั่วไปมีข้อจำกัดไม่สามารถทำได้ มีกระบวนการผลิตที่ง่ายกว่ายาเม็ด ไม่ต้องคำนึงเรื่องแรงอัดและความร้อนที่เกิดในกระบวนการผลิต เหมาะสำหรับยาที่ไม่ทนต่อความร้อน

 

     แคปซูลมีด้วยกันหลายรูปแบบ สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท

  1. แบบแคปซูลเปลือกแข็ง (Hard Capsule)

     แคปซูลเปลือกแข็ง มักจะมีลักษณะเป็นทรงยาว หัวมน สิ่งที่บรรจุภายในมีทั้งของแข็ง กึ่งของแข็ง และของเหลว มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ตัวแคปซูล และฝาปิด (Body and Cap) เมื่อบรรจุยาแล้ว ถึงนำมาสวมต่อกันได้แน่นสนิท พบมากในประเภทยาปฏิชีวนะ เช่น ยาแก้อักเสบ

  1. แบบแคปซูลเปลือกนิ่ม (Soft gelatin Capsule)

     แคปซูลเปลือกนิ่มแตกต่างกันที่วิธีการผลิต เวลาผลิตจะผลิตเปลือกและบรรจุยาไปพร้อมกัน ใช้ในกรณีที่ตัวยาไวต่ออากาศและแสงอย่างมาก เช่น พวกน้ำมันตับปลาและวิตามินต่างๆ มีลักษณะเป็นทรงกลมและทรงรี แคปซูลประเภทนี้จะไม่สามารถแกะออกมาได้เหมือนแคปซูลชนิดแข็ง

 

     จุดเด่นของแคปซูล  

     - กลืนง่าย

     เนื่องจากแคปซูลส่วนมากมีรูปร่างยาว ช่วยให้ลิ้นเคลื่อนเปลือกแคปซูลลงคอได้ง่าย นอกจากนี้เปลือกแคปซูลยังสามารถปกปิดรสชาติของผงยาที่อยู่ข้างในได้ จึงทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการทานยามากขึ้น

     - การดูดซึมยา

     เปลือกแคปซูลโดยทั่วไปจะละลายเมื่ออยู่ในกระเพาะอาหารอย่างรวดเร็ว ทำให้การปลดปล่อยตัวยาออกจากแคปซูลรวดเร็วตามไปด้วย เนื่องจากผงยาในแคปซูลไม่ได้ถูกตอกอัดเหมือนอย่างยาเม็ด ผงยาจึงสามารถละลายในของเหลวที่ระบบทางเดินอาหารได้ทันที การดูดซึมยาจึงเร็วขึ้นและสามารถออกฤทธิ์ได้เร็ว มีความเข้มข้นของตัวยาออกฤทธิ์ในกระแสเลือดสูง



ผงกล้วยน้ำว้าดิบ รักษากรดไหลย้อนได้จริงหรือไม่

ผงกล้วยน้ำว้าดิบ รักษา กรดไหลย้อน ได้จริงหรือไม่

วิธีบำรุงผม เปลี่ยนผมเสียเป็นผมสวย

วิธี บำรุงผม เปลี่ยน ผมเสีย เป็น ผมสวย