เช็คพฤติกรรมตนเอง คุณเข้าข่ายเป็น โรคติดมือถือ หรือไม่?

เช็คพฤติกรรมตนเอง คุณเข้าข่ายเป็น โรคติดมือถือ หรือไม่?


ในยุคนี้ โทรศัพท์มือถือ กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่ง ที่แทบทุกคนต้องใช้และพกติดตัวกันอยู่แล้ว และหลายคน อาจเข้าข่ายเป็น โรคติดมือถือ ได้ วันนี้เราจึงช่วยคุณมา เช็คพฤติกรรมของตนเอง ว่าคุณเข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้ หรือไม่

 

โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ในการสื่อสาร ที่หลายคนในยุคนี้ ต้องมีติดตัวไว้อยู่เสมอ และใช้ในทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การทำงาน เล่นเกม การสนทนา ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น จนทำให้ โทรศัพท์มือถือ กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ สำหรับหลายคนไปแล้ว

 

การใช้ โทรศัพท์มือถือ ที่มากเกินไป ของคนในยุคนี้ อาจทำให้คุณ มีอาการ กลัวการขาดโทรศัพท์ ซึ่งในทางการแพทย์ ได้มีการนิยาม อาการนี้ว่าเป็นอาการ " โนโมโฟเบีย " ( Nomophobia ) โดยคำว่า โน ( No ) แปลว่า ไม่ คำว่า โม ( Mo- ) ย่อมาจาก โมบายโฟน (Mobile Phone) หรือโทรศัพท์มือถือ ส่วนคำว่า โฟเบีย ( Phobia ) แปลว่า ความกลัว หรืออาการหวาดกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป เมื่อนำ 3 คำนี้มารวมกันว่า โนโมโฟเบีย จึงหมายถึง อาการกลัวการขาดโทรศัพท์มือถือ นั่นเอง

 

พฤติกรรมที่เข้าข่ายว่า ติดมือถือ

 

  • หมกมุ่นอยู่กับการเช็คข้อความในโทรศัพท์
  • ได้ยินเสียงแจ้งเตือน ก็หยิบมือถือขึ้นมาเช็คทันที
  • เมื่อมีข้อความเด้ง หรือแจ้งเตือน ก็ดูโทรศัพท์ทันที
  • รู้สึกกังวล หรือกระวนกระวายใจ ถ้าไม่พกโทรศัพท์ติดตัว
  • รู้สึกอุ่นใจที่มีโทรศัพท์อยู่ข้างกายตลอด
  • วางโทรศัพท์ไม่เกิน 5 นาทีก็หยิบขึ้นมาเล่นบ่อยครั้ง
  • เล่นโทรศัพท์ ขณะทานข้าว
  • ไม่เคยปิดโทรศัพท์เลย

เป็นต้น

 

หากคุณมีพฤติกรรรมเหล่านี้ มากกว่า 1 ข้อ บอกได้เลยว่า คุณเข้าข่าย อาการ โนโมโฟเบีย  ( Nomophobia ) หรือ อาการกลัวการขาดโทรศัพท์มือถือ เสียแล้ว

 

ผลกระทบของ การติดมือถือ

 

พฤติกรรม การติดมือถือ สามารถส่งผลเสียต่อร่างกาย ต่อผู้ติดมือถือ ดังต่อไปนี้

 

  • นิ้วล็อก : เป็นอาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้น เมื่อเราเล่นโทรศัพท์นาน ๆ ทำให้นิ้วล็อก นิ้วชา หรือปวดข้อมือได้

 

  • ปัญหาทางสายตา : การมองแสงสีฟ้าจาก จอโทรศัพท์นาน ๆ จะทำให้ ตาของเราล้า ตาแห้งได้ หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ก็จะยิ่งทำให้ จอประสาทตาของคุณเสื่อมลงเรื่อย ๆ ได้

 

  • ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ : ขณะเล่นโทรศัพท์มือถือ แทบทุกคนมักก้มหน้า ค่อมตัวลง ทำให้คอ บ่า ไหล่ เกิดอาการเกร็ง และการก้มศีรษะลง ทำให้กระดูกสันหลัง รับน้ำหนักมากขึ้น ทำให้ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ ในบริเวณที่เกี่ยวข้องได้

 

อาการเหล่านี้ ถึงแม้ว่า จะไม่รุนแรงมากนัก แต่จะดีกว่า หากไม่เกิด อาการต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้น ซึ่งหากคุณมีพฤติกรรมในการใช้มือถือ จนถึงขั้น “ติด” มากเกินไป ควรปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการใช้มือถือ โดยด่วน เพื่อสุขภาพของตัวท่านเอง

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ผลของการนอนน้อยอันตรายขนาดไหน มาดูกัน

ลดความกดดัน เพิ่มพลังบวกให้กับตัวเอง


ผงกล้วยน้ำว้าดิบ รักษากรดไหลย้อนได้จริงหรือไม่

ผงกล้วยน้ำว้าดิบ รักษา กรดไหลย้อน ได้จริงหรือไม่

ทำความรู้จักกับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1

ทำความรู้จักกับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1