กินเจ ไม่ให้ จำเจ ด้วยผัก 5 สี

กินเจ ไม่ให้ จำเจ ด้วยผัก 5 สี


เทศกาลกินเจ หรือ เทศกาลถือศีลกินผัก เป็นการละการกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด เปลี่ยนมาเน้นผักและผลไม้ วันนี้เราจะแนะนำการกินผักให้ไม่น่าเบื่อ จำเจ และได้รับใยอาหารและวิตามินครบถ้วนด้วยการกินผัก 5 สี

 

ผัก 5 สี ดีอย่างไร ?

     ผัก มีวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และสารอาหารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นสารอาหารที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้ ต้องได้รับจากการรับประทาน ผักยังมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อม กระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย และช่วยป้องกันการติดเชื้อ การเกิดโรคต่างๆ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม หรือ 5 สี ซึ่งแต่ละสีมีสารอาหารและคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การทานให้หลากหลายและครบทั้ง 5 สีจะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ได้ เริ่มจาก...

 

1. สีเขียว

     หากพูดถึงผัก คงนึกถึงสีเขียวเป็นสีแรก กันใช่ไหมคะ ผักสีเขียว มีสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) และอีกมากมาย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีไฟเบอร์สูง ป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกทำลาย ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ชะลอการเสื่อมของจอประสาทตา กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ยับยั้งการเกิดริ้วรอย และช่วยในเรื่องของการขับถ่ายอีกด้วย


     ผักที่อยู่ในกลุ่มสีเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักปวยเล้ง ผักกาดหอม คะน้า แตงกวา ตำลึง กะหล่ำปลีสีเขียว บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด ถั่วลันเตา เป็นต้น

 

2. สีเหลือง หรือ สีส้ม

     ผักที่มีสีเหลืองและสีส้ม มีสาร แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ เบต้า-แคโรทีน (Beta-carotene) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และวิตามินซี (Vitamin C)  ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการอักเสบ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ช่วยรักษาสุขภาพของหัวใจ หลอดเลือด ลดคอเลสเตอรอลในเลือด บำรุงสายตา ลดการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย และช่วยให้ผิวพรรณสดใส

 

     ผักที่อยู่ในกลุ่มสีเหลืองหรือส้ม เช่น แครอท ฟักทอง มันเทศ พริกสีเหลือง ส้ม มะนาว มะละกอ เป็นต้น

 

3. สีม่วง หรือ สีน้ำเงิน

     ผักที่มีสีม่วง หรือ สีน้ำเงิน มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินซีและอีถึง 2 เท่า ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ช่วยปกป้องหลอดเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดท้องเสีย


     ผักที่อยู่ในกลุ่มสีม่วงหรือสีน้ำเงิน เช่น มะเขือม่วง กะหล่ำปลีสีม่วง มันเทศสีม่วง หอมแดง เผือก ดอกอัญชัน เป็นต้น

 

4. สีขาว หรือ สีน้ำตาลอ่อน

     ผักที่มีสีขาว หรือ สีน้ำตาลอ่อน มีสารแซนโทน (Xanthone) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยลดอาการอักเสบ รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตและโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และช่วยลดอาการปวดตามข้อ


     ผักที่อยู่ในกลุ่มสีขาว หรือ สีน้ำตาล เช่น งาขาว ขิง ข่า กระเทียม กุยช่าย ขึ้นฉ่าย ผักกาดขาว เห็ด ลูกเดือย หัวไชเท้า ดอกกะหล่ำ ดอกแค ถั่วงอก เป็นต้น

 

5. สีแดง

     ผักที่มีสีแดง มีสารไลโคปีน (Lycopene) เบตาไซซีน (Betacycin) และสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี มากกว่าวิตามินอีถึง 100 เท่า และมากกว่ากลูตาไธโอนถึง 125 เท่า สารไลโคปีนช่วยช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งปากมดลูก ช่วยลดปริมาณไขมันไม่ดี (LDL) ช่วยชะลอการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด ลดความดันโลหิตและลดการแข็งตัวของหลอดเลือด นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของริ้วรอยจากสิวอีกด้วย

 

     ผักที่อยู่ในกลุ่มสีแดง เช่น มะเขือเทศ บีทรูท กระเจี๊ยบแดง หอมแดง พริกหวาน พริกแดง เป็นต้น

 

     บทความนี้จะทำให้คุณเริ่มหันมาสนใจกินผักหลากหลายสี ได้สารอาหารที่แตกต่างมากขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มสีสันให้กับอาหารไม่ให้ดูจืดชืดจนเกินไป แต่มีข้อระวังในการทานผักโดยต้องงดผักที่มีกลิ่นฉุน ได้แก่ กระเทียม หัวหอม ต้นหอม หลักเกียว (กระเทียมโทนจีน) กุยช่าย และใบยาสูบ เนื่องจากผักกลิ่นฉุนเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อธาตุในร่างกาย และกระทบต่ออวัยวะบางอย่างในร่างกาย เช่น ไต ม้าม เทศกาลกินเจปีนี้ ขอให้สุขภาพดี อิ่มบุญ และอิ่มใจกันนะคะ

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก Pordeeshops

ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook


ผงกล้วยน้ำว้าดิบ รักษากรดไหลย้อนได้จริงหรือไม่

ผงกล้วยน้ำว้าดิบ รักษา กรดไหลย้อน ได้จริงหรือไม่

ทำความรู้จักกับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1

ทำความรู้จักกับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1